Windows Repairing วิธีง่ายๆ ซ่อมแซ่มบ้านให้วินโดวส์

การติดตั้งวินโดวส์ใหม่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้วินโดวส์กลับมาคืนชีพอีกครั้ง หลังจากวินโดวส์ระบบล่มหรือเกิดข้อผิดพลาดด้วยสาเหตุต่างๆ แต่การติดตั้งวินโดวส์ใหม่จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากแล้ว มันยังคงทำให้คุณเสียเวลาโดยใช่เหตุ อย่างไรก็ตามนอกจากการติดตั้งวินโดวส์ใหม่แล้ว การซ่อมแซม (Repairing) วินโดวส์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยคืนชีพให้กับวินโดวส์ตัวโปรดของคุณได้…
บางครั้งคุณไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้ โดยมักเจอปัญหาหรือข้อความผิดพลาดขึ้นระหว่างขั้นตอนการบูตเครื่อง โดยอยู่ในรูปแบบหน้าจอสีดำตัวอักษรสีขาว ซึ่งปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นก็มักเกิดจากไฟล์ระบบหรือรีจิสทรีเกิดความเสียหายระหว่างการอ่านและเขียนข้อมูลหรือไฟล์สำหรับบูตจากฮาร์ดดิสก์ นอกจากนี้อาจเกิดจากปัญหาฮาร์ดดิสก์พังและระบบติดไวรัส ตัวอย่างเช่น  Master Boot Record, Partition Table, Boot Sector, Boot.ini เป็นต้น ส่วนปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นกับวินโดวส์ ก็ประกอบไปด้วย NTOSKENL Missing or Corrupt, NTLDR is Missing, Windows could not start the following file is Missing or corrupt (C:/Windows\system32\config) และ Missing Operation System แต่ปัญหาหรือข้อผิดพลาดเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับวินโดวส์เอ็กซ์พีโดยเฉพาะ แต่ส่วนการแก้ปัญหาหรือข้อผิดพลาดเหล่านี้คุณสามารถทำได้ด้วยวิธีการติดตั้งและซ่อมแซมวินโดวส์ใหม่ ซึ่งมันก็จะช่วยให้วินโดวส์กลับมาคืนชีพอีกครั้ง อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาหรือข้อผิดพลาดด้วยวิธีติดตั้งวินโดวส์ใหม่ แม้ว่าจะช่วยให้คุณสามารถล้างเครื่องเพื่อกำจัดปัญหาต่างๆได้อย่างหมดจดแล้ว แต่คุณย่อมต้องเสียเวลาติดตั้งวินโดวส์และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานใหม่ ซึ่งจะแตกต่างจากวิธีแก้ปัญหาหรือข้อผิดพลาดด้วยการซ่อมแซมวินโดวส์ เพียงคุณเตรียมแผ่นติดตั้งวินโดวส์และขอเวลาสักเล็กน้อยคุณก็สามารถคืนชีพวินโดวส์ได้แล้ว เพราะฉะนั้นวิธีซ่อมแซมวินโดวส์น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับแก้ปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นข้างต้นได้ โดย PCTODAY ฉบับนี้ได้แนะนำวิธีแก้ปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นไว้ให้คุณนำไปใช้เรียบร้อยแล้วครับ

- ปัญหา NTDLR is missing
การแก้ปัญหาเมื่อพีซีแสดงข้อผิดพลาด ( Error: NTDLR is missing) แก้ปัญหานี้โดยใช้เครื่องมือวินโดวส์ เครื่องมือนี้มีชื่อว่า Windows Recovery console ซึ่งขั้นตอนก็จะมีดังต่อไปนี้
รูปที่ 1 แสดงข้อความ Error: NTDLR is missing
1. เตรียมแผ่นติดตั้งวินโดวส์เอ็กซ์พี สำหรับบูตเข้าสู่โหมด Windows Recovery Console ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 แผ่นสำหรับติดตั้งวินโดวส์เอ็กซ์พี

2. เข้าสู่หน้าไบออส (Bios) โดยกดปุ่ม Delete หรือ F2 ขึ้นอยู่กับรุ่นของไบออส จากนั้นกำหนดให้พีซีบูตจากไดร์ฟซีดี/ดีวีดีเป็นไดรฟ์แรก ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 กำหนดไดร์ฟซีดี/ดีวีดีเป็นไดร์ฟแรกสำหรับบูต

หมายเหตุ : คุณสามารถกำหนดให้พีซีบูตจากไดร์ฟซีดีหรือดีวีดีเป็นไดร์ฟแรกได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปกำหนดค่าในไบออส ในขณะที่พีซีกำลัง POST (Power On Self Test) ให้กดปุ่ม Esc เพื่อเรียกใช้ออปชั่น Boot Menu สำหรับการเรียกใช้ Boot Menu จะมีความแตกต่างกันของแต่ละเมนบอร์ด เช่น F2, F10, F11, F12 และ Esc เป็นต้น อย่างไรก็ตามคุณสามารถสังเกตุการเรียกใช้ออปชั่น Boot Menu ด้านล่างของจอมอนิเตอร์ ขณะพีซีกำลัง POST ก็จะปรากฏหน้าออปชั่น Boot Menu ขึ้นมา จากนั้นให้เลือก CD-Rom Drive ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดงรายการเมนูใน Boot Menu

3. ในขั้นตอนนี้พีซีก็จะทำการบูตจากแผ่นติดตั้งวินโดวส์ เมื่อปรากฏข้อความ Press any key to boot from CD… ให้กดปุ่มใดๆบนคีย์บอร์ด เพื่อเข้าสู่โหมด Windows Recovery Console ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 แสดงข้อความ Press any key to boot from CD… เมื่อบูตจากแผ่นติดตั้งวินโดวส์

4. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Windows XP Professional Setup ให้กดปุ่ม R เพื่อทำการซ่อมแซม (Repair) ไฟล์ระบบวินโดวส์ที่เสียหาย ด้วยการใช้เครื่องมือ Windows Recovery Console ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 การเรียกใช้เครื่องมือ Windows Recovery Console

5. ในขั้นตอนนี้หน้าต่าง Windows Recovery Console ก็จะถูกโหลดขึ้นมา จากนั้นให้ใส่เลข 1 และกดปุ่ม Enter เพื่อเลือกไดร์ฟหรือพาร์ทิชั่น C:\Windows ซึ่งเป็นไดร์ฟหรือพาร์ทิชั่นที่ถูกติดตั้งวินโดวส์ ให้ใส่รหัสพาสเวิร์ดของยูสเซอร์ผู้ดูแลระบบ (Administrator) หรือถ้าไม่ได้กำหนดรหัสพาสเวิร์ดไว้ก็ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ดังรูปที่ 7
รูปที่ 7 เลือกไดร์ฟ C ซึ่งเป็นไดร์ฟที่ถูกติดตั้งวินโดวส์

6. เมื่อเข้าสู้หน้าต่าง Windows Recovery Console เรียบร้อยแล้ว ให้คุณก๊อปปี้ไฟล์ ntldr และ ntdetect.com จากแผ่นติดตั้งวินโดวส์ที่อยู่ในไดร์ฟซีดี/ดีวีดี ไปยังไดร์ฟ C:\ โดยใช้คำสั่ง DOS ดังต่อไปนี้ (สมมุติว่าไดร์ฟซีดี/ดีวีดีเป็นไดร์ฟ G)
C:\Windows>G:  กดปุ่ม Enter
G:\>cd i386 กดปุ่ม Enter
G:\I386>copy ntldr c:\ กดปุ่ม Enter
G:\I386>copy ntdetect.com c:\ กดปุ่ม Enter
G:\I386>C: กดปุ่ม Enter
C:\Windows>fixboot กดปุ่ม Enter
จากนั้นระบบจะให้คุณยืนยันการเขียน Boot Sector ใหม่ให้กับพาร์ทิชั่นหรือไม่ ให้ใส่ตัว Y และกดปุ่ม Enter ดังรูปที่ 8
รูปที่ 8 ขั้นตอนการใช้คำสั่ง DOS เพื่อแก้ปัญหา NTLDR is Missing

7. เมื่อพาร์ทิชั่นถูกเขียน Boot Sector โดยการซ่อมแซมไฟล์ Boot.ini เรียบร้อยแล้ว ให้ใช้คำสั่ง Exit เพื่อออกจากโหมด Windows Recovery Console จากนั้นคุณก็จะสามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้ตามปกติแล้วครับ

-  ปัญหา Windows could not start because the following file is missing or corrupt
เมื่อไรพีซีบูตเข้าวินโดวส์ไม่ได้แต่กับเจอปัญหาหรือข้อผิดพลาด (Error: Windows could not start because the following file is missing or corrupt: C:\Windows\System32\Config) สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รูปที่ 1 แสดงข้อความ Error: Windows could not start because the following file is missing or corrupt

1. ในขั้นตอนนี้ให้ทำการแก้ปัญหาโดยการเข้าโหมด Windows Recovery Console โดยขั้นตอนการเข้าสู่โหมด Windows Recovery Console ผมได้นำเสนอขั้นตอนไว้ในหัวข้อที่แล้ว จากนั้นเมื่อเข้าโหมด Windows Recovery Console เรียบร้อยแล้ว ให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้
C:\Windows>ATTRIB –H C:\Boot.ini กดปุ่ม Enter
C:\Windows>ATTRIB –R C:\Boot.ini กดปุ่ม Enter
C:\Windows>ATTRIB –S C:\Boot.ini กดปุ่ม Enter
C:\Windows>DEL C:\Boot.ini กดปุ่ม Enter
C:\Windows>Bootcfg /Rebuild กดปุ่ม Enter
Add installation to boot list? (Yes/No/ALL): y กดปุ่ม Enter
Enter Load Identifier: Microsoft Windows XP Professional กดปุ่ม Enter
Enter OS Load Options: /Fastdetect กดปุ่ม Enter
C:\Windows>Fixboot กดปุ่ม Enter
Are you sure you want to write a new bootsector to the partition C:?  y กดปุ่ม Enter

ให้ทำการรีสตาร์ทพีซีของคุณ โดยพิมพ์คำสั่ง Exit จากนั้นคุณก็จะสามารถเข้าใช้งานวินโดวส์ได้ตามปกติ ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงการใช้คำสั่งในการแก้ไขไฟล์ Boot.ini ในโหมด Windows Recovery Console

หมายเหตุ : คำสั่ง ATTRIB เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของไฟล์ Boot.ini โดยกำหนดให้พามิเตอร์เป็น -H หมายถึง การรีเซ็ตไฟล์ Boot.ini ให้เป็นไฟล์ Unhide, –R หมายถึง การรีเซ็ตไฟล์ Boot.ini ให้สามารถอ่านและเขียนได้ (Read/Write), -S หมายถึง การรีเซ็ตไฟล์ boot.ini ไม่ให้เป็น System File ส่วนคำสั่ง BootCFG จะเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแก้ไขค่า Settings ในไฟล์ Boot.ini และคำสั่ง Fixboot เป็นคำสั่งที่ใช้สร้างหรือเขียน Boot Sector ของพาร์ทิชั่นใหม่ (-H, -R, -S ต้องเป็นตัวใหญ่เสมอ)

- ปัญหา Missing Operation System
            สำหรับพีซีที่เจอปัญหา Missing Operation System หรือ Operating system not found ให้ทำการแก้ปัญหาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
รูปที่ 1 แสดงข้อความ Error: Missing Operation System

1. แก้ปัญหานี้ด้วยการเขียน Master Boot Record (MBR) ใหม่ในโหมด Windows Recovery Console เมื่อเข้าโหมด Windows Recovery Console เรียบร้อยแล้ว ให้ใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
C:\Windows>Fixboot กดปุ่ม Enter
Are you sure you want to write a new bootsector to the partition C:?  ตอบ y กดปุ่ม Enter
C:\Windows>Fixmbr กดปุ่ม Enter
Are you sure you want to write a new MBR? ตอบ y กดปุ่ม Enter
C:\Windows>chkdsk กดปุ่ม Enter
ให้ทำการรีสตาร์ทพีซีของคุณ โดยพิมพ์คำสั่ง Exit จากนั้นคุณก็จะสามารถเข้าใช้งานวินโดวส์ได้ตามปกติ ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงการใช้คำสั่งแก้ไข Master Boot Record (MBR) ในโหมด Windows Recovery Console

หมายเหตุ : คำสั่ง CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจเช็คฮาร์ดดิสก์ว่ามีปัญหาหรือไม่ นอกจากนี้คุณสามารถใช้คำสั่ง help เพื่อดูคำสั่งที่ต้องการใช้งาน

- ปัญหา NTOSKENL Missing or Corrupt
เมื่อเจอปัญหา NTOSKENL Missing or Corrupt ให้ทำการแก้ปัญหาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
รูปที่ 1 แสดงข้อความ Error: NTOSKENL Missing or Corrupt

1. ให้แก้ปัญหานี้ด้วยการเขียนไฟล์ NTOSKENL ไปทับไฟล์เดิมที่เกิดความเสียหาย ซึ่งไฟล์นี้จะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ C:\Windows\System32\ โดยทำการซ่อมแซมวินโดวส์ผ่านโหมด Windows Recovery Console ซึ่งจะมีรายละเอียดต่อไปนี้

C:\Windows>G: กดปุ่ม Enter
G:\>CD i386 กดปุ่ม Enter
G:\i386>expand ntoskenl.ex_ C:\windows\system32 กดปุ่ม Enter
Are you sure you want to overwrite the file? ตอบ y กดปุ่ม Enter

ให้ทำการรีสตาร์ทพีซีของคุณ โดยพิมพ์คำสั่ง Exit จากนั้นคุณก็จะสามารถเข้าใช้งานวินโดวส์ได้ตามปกติ ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงการใช้คำสั่ง Expand เพื่อเขียนทับไฟล์ NTOSKENL ในโหมด Windows Recovery Console

- ปัญหาพีซีบูตเข้าวินโดวส์เซเวนไม่ได้…อยู่ดีๆระบบก็ล่ม
สำหรับการแก้ปัญหาพีซีบูตเข้าวินโดวส์เซเวนไม่ได้ ไม่ว่าจะเกิดจากปัญหา Master Boot Record (MBR), Boot Sector และ Boot Configuration Data (BCD) เสียหาย ก็จะมีขั้นตอนซ่อมแซมวินโดวส์ดังต่อไปนี้

1. ให้เตรียมแผ่นติดตั้งวินโดวส์เซเวน และกำหนดให้พีซีบูตจากไดร์ฟซีดี/ดีวีดีเป็นไดร์ฟแรก เมื่อปรากฏข้อความ Press any key to boot from CD or DVD ให้กดปุ่มใดๆก็ได้บนคีย์บอร์ด เช่น ปุ่ม Enter , Space bar เป็นต้น เพื่อเริ่มต้นบูตระบบจากแผ่นติดตั้งวินโดวส์ จากนั้นเลือกภาษา เวลา และรูปแบบการใช้งานคีย์บอร์ด ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงการเลือกภาษา เวลา และรูปแบบการใช้งานคีย์บอร์ด

2. ในขั้นตอนนี้ให้คุณคลิกเมนู Repair your computer เพื่อเข้าสู่โหมด Windows Recovery Environment (Windows RE) ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงการคลิกเลือกเมนู Repair your computer

3. เมื่อปรากฏหน้าไดอะล็อกบล็อก System Recovery Options ให้คุณเลือกระบบปฏิบัติการวินโดวส์วินโดวส์เซเวน เพื่อทำการซ่อมแซม (Repair) จากนั้นคลิกปุ่ม Next ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงการเลือกวินโดวส์เซเวนเพื่อซ่อมแซม (Repair)

หมายเหตุ : ฟีเจอร์ System Recovery Options นี้ไม่สามารถใช้งานหรือซ่อมแซม (Repair) ร่วมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่มีเวอร์ชั่นต่ำกว่าวินโดวส์เซเวนได้

4. ในขั้นตอนนี้ให้เลือกเครื่องมือ Command Prompt โดยคลิกเลือกเมนู Command Prompt ก็จะปรากฏหน้าต่าง Windows Command Prompt เพื่อรับคำสั่งในการแก้ปัญหานี้ สำหรับเครื่องมือกู้คืนข้อมูลหรือ Recovery Tools ใน System Recovery Options ก็จะประกอบไปด้วย
- Startup Repair = เป็นเครื่องมือที่จะช่วยซ่อมแซมปัญหาที่เกิดขึ้นกับวินโดวส์ เมื่อวินโดวส์ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์โดยอัตโนมัติ
- System Restore = เป็นเครื่องมือที่จะช่วยคืนค่าวินโดวส์ให้กลับไปก่อนหน้าที่ยังไม่เกิดปัญหา
- System Image Recovery = เป็นเครื่องมือที่จะช่วยกู้คืนระบบด้วยไฟล์อิมเมจ (Image File) ที่คุณได้ทำการสร้างหรือแบ็คอัพด้วยเครื่องมือของวินโดวส์ไว้ก่อนหน้านี้ เช่น NTbackup เป็นต้น
- Windows Memory Diagnostic = เป็นเครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์หรือวินิจฉัยข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับหน่วยความจำหรือแรม (RAM) ที่ถูกติดตั้งบนพีซีของคุณ
- Command Prompt = เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้คำสั่ง DOS ในรูปของ Text ในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับพีซีผ่านทางหน้ากระดาษดำ
รูปที่ 4 แสดงเครื่องมือ Recovery ใน System Recovery Options

5. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Command Prompt เรียบร้อยแล้ว ให้คุณใช้คำสั่ง DOS เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับ Master Boot Record เสียหาย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
X:\Source> Bootrec.exe /fixmbr กดปุ่ม Enter จากนั้นทำการรีสตาร์ทพีซี เพื่อเข้าใช้งานวินโดวส์เซเวนอีกครั้ง
รูปที่ 5 แสดงการใช้คำสั่ง Bootrec.exe /fixmbr เพื่อแก้ปัญหา MBR ที่เสียหาย

หมายเหตุ : หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับ Boot Sector และ Boot Configuration Data เสียหาย คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยใช้คำสั่ง Bootrec.exe /fixboot และ Bootrec.exe /RebuildBcd ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาวินโดวส์ไม่บูตหรือบูตวินโดวส์ไม่ได้ โดยใช้ Windows RE คุณควรใช้เครื่องมือ Startup Repair ก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ระบบทำการซ่อมแซมส่วนที่ผิดพลาดให้คุณโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเครื่องมือ Startup Repair ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ให้คุณแก้ปัญหานี้ด้วยการใช้คำสั่ง Bootrec.exe ที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นครับ

จากปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นข้างต้นที่เป็นต้นตอทำให้วินโดวส์ตัวโปรดล่ม ไม่คิดแม้จะเดินหน้าต่อ ล้มเลวแบบไม่เป็นท่า แต่พอจะลุกขึ้นที่ไรจำเป็นต้องติดตั้งวินโดวส์ใหม่ทุกที เป็นอย่างนี้ก็ไม่เข้าท่า เสียทั้งเวลที่ต้องโหลดวินโดวส์และโปรแกรมใหม่ อย่างไรก็ตามถ้าไม่ต้องการแบบนี้ คงต้องหันกลับมาใช้วิธีแก้ปัญหาแบบซ่อมแซมวินโดวส์กันดีกว่า ง่ายกว่ากันแยอะ ..สาธุ

ที่มา www.pctodaythailand.com

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม